ประวัติ
โรงเรียนเทศบาล ๔ หนองแคอนุสรณ์

ประวัติ โรงเรียนเทศบาล ๔ หนองแคอนุสรณ์ โรงเรียนเทศบาล 4 หนองแคอนุสรณ์ ถือกำเนิดมาจาก 2 โรงเรียนรวมกัน คือ โรงเรียนเทศบาลวัดหนองพระบางและโรงเรียนเทศบาลวัดเกาะลอย โดยรวมครู อุปกรณ์การสอนตลอดจนทรัพย์สินของโรงเรียนเข้าด้วยกัน โดยเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า โรงเรียนเทศบาล 4 หนองแคอนุสรณ์” พ.ศ.2519 ได้เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ จำนวน 1,350,000 บาท นำมาสร้างอาคารเรียนจำนวน 17 ห้องเรียน ใช้เป็นอาคารเรียนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา ปัจจุบันคือ อาคาร 1 พ.ศ.2526 เริ่มเปิดสอนระดับอนุบาลศึกษา เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2526 จำนวน 6 ห้องเรียน มีนักเรียนอนุบาล 180 คน พ.ศ.2526 ได้รับเงินอุดหนุนฯ จำนวน 2,510,200 บาท นำมาสร้างอาคารเรียน คอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น จำนวน 14 ห้องเรียน ซึ่งปัจจุบันคืออาคาร 2 พ.ศ.2532 ได้รับเงินอุดหนุนฯ และเงินงบประมาณเทศบาลสมทบ สร้างอาคารเรียนหลังที่ 3 (อาคารอนุบาล) รวมเงินค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 2,950,000 บาท เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2534 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นเดียว จำนวน 11 ห้องเรียน พ.ศ.2537 ได้เงินอุดหนุนเฉพาะกิจและเงินเทศบาลสมทบ จำนวน 4,000,000 บาท สร้างอาคารอเนกประสงค์ของทางโรงเรียน พ.ศ.2539 ได้เงินอุดหนุน 4,600,000 บาท สร้างอาคารเรียนหลังที่ 4 พ.ศ.2541 ได้รับอนุมัติจากกรมการปกครอง ให้เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 พ.ศ.2551 ได้รับเงินอุดหนุน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ก่อสร้างอาคารเรียน (อาคารเฟื้องฟ้า) แทนอาคารอนุบาลเดิม เป็นเงิน 11,240,000 บาท ปัจจุบันโรงเรียนเทศบาล 4 หนองแคอนุสรณ์ มีพื้นที่ 15 ไร่ 2 งาน เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งหมด 1,637 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิ.ย. 2555)

ข้อมูลทั่วไปของโรงเรียน

อักษรย่อของโรงเรียน ท.นค.4 สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน เพลงประจำโรงเรียน มาร์ช เทศบาล 4 หนองแคอนุสรณ์ คติพจน์ ปัญฺญฺา โลกฺสมิ ปฺชโชโต ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก คำขวัญ เรียนดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม สีประจำโรงเรียน แดง - น้ำเงิน แดง หมายถึง ผู้มีความอดทน เข้มแข็ง กระตือรือร้น เสียสละ เพียรพยายาม และรับผิดชอบต่อหน้าที่ น้ำเงิน หมายถึง เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ฉะนั้น ลูกแดง - น้ำเงิน จะต้องเป็นผู้มีความอดทน เข้มแข็ง กระตือรือร้น เสียสละเพียรพยายาม มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และจะต้องเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ลูกแดง - น้ำเงิน จะต้องเป็นผู้มีความอดทน เข้มแข็ง กระตือรือร้น เสียสละเพียรพยายาม มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และจะต้องเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ สภาพปัจจุบันของโรงเรียน โรงเรียนเทศบาล 4 หนองแคอนุสรณ์เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ 15 ไร่ 2 งาน ตั้งอยู่เลขที่ 7 ถนนระพีพัฒน์ฝั่งซ้าย ตำบลหนองแค อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี รหัสไปรษณีย์ 18140 โทรศัพท์ 0-3637-1340 สังกัดเทศบาลตำบลหนองแค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย อาคารเรียนและอาคารประกอบ ตามสภาพปัจจุบันมี ดังนี้ 1. อาคารเรียนครึ่งตึกครึ่งไม้ จำนวน 1 หลัง 2. อาคารเรียนตึก 2 ชั้น จำนวน 1 หลัง 3. อาคารเรียนตึก 3 ชั้น(ใต้ถุนโล่ง) จำนวน 1 หลัง 4. อาคารเรียนตึก 4 ชั้น จำนวน 2 หลัง 5. อาคารอเนกประสงค์ จำนวน 2 หลัง 6. โรงอาหาร จำนวน 2 หลัง 7. ห้องสุขานักเรียน จำนวน 6 หลัง ข้อมูลจำนวนนักเรียน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิ.ย.2555) ระดับชั้น จำนวน (คน) อนุบาล 481 ประถมศึกษา 959 มัธยมศึกษาตอนต้น 197 รวม 1,637

วิสัยทัศน์/พันธกิจ

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรแห่งการเรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง”

- Epictetus, The Enchiridion
พันธกิจ (Mission) ด้านนักเรียน 1. นักเรียนมีทักษะในการเรียนรู้และการปรับตัวในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข 2. นักเรียนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3. นักเรียนตระหนักในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและนำไปใช้ในวิถีชีวิต 4. นักเรียนเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมไทย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และภูมิปัญญาท้องถิ่น 5. นักเรียนมีความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนได้ดี ด้านครู 1. จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมกระบวนการคิดของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และสร้างสรรค์ 2. รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ 3. ใช้สื่อที่ผสมผสานความรู้สากลกับภูมิปัญญาไทยและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย 4. พัฒนาวิชาชีพของตนเองอย่างต่อเนื่อง รักการอ่านและการเรียนรู้ 5. มีคุณธรรม จริยธรรม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลงสู่วิถีชีวิต ด้านโรงเรียน 1. จัดการบริหารงานโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน ในรูปแบบโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ ยึดมั่นหลัก ธรรมาภิบาล ผสานเศรษฐกิจพอเพียง 2. สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียน บ้าน หน่วยงานของรัฐและเอกชน เพื่อความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาท้องถิ่น 3. จัดทำข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับโรงเรียน ชุมชน นักเรียน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการบริหารจัดการศึกษา 4. กำหนดระบบประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาเพื่อนำไปสู่พัฒนาคุณภาพ